ufabet

กินไข่ทุกวัน อันตรายจริงหรือไม่

แม้ไข่จะประกอบด้วยสารอาหารทรงคุณค่าเพียงใด แต่ข้อหนึ่งที่ทำให้หลายคนไม่อาจรับประทานไข่ได้อย่างสบายใจก็เพราะไข่มีปริมาณคอเลสเตอรอลค่อนข้างสูง โดยไข่ฟองใหญ่ ๆ

อาจประกอบด้วยคอเลสเตอรอลสูงถึง 213 มิลลิกรัม หรือเทียบเท่ากับ 2 ใน 3 ของขีดจำกัดปริมาณคอเลสเตอรอลที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวันด้วยความกลัวที่ว่าคอเลสเตอรอลที่สูงจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย หลายคนเลือกรับประทานเฉพาะไข่ขาวที่ไม่มีคอเลสเตอรอล ทว่าไข่แดงนั้นคือส่วนที่อุดมด้วยคุณค่าทางอาหารสูง การไม่รับประทานไข่แดงจึงเท่ากับพลาดสารอาหารดี ๆ อันมีประโยชน์ไป รวมถึงช่วงหลังที่มีการแนะนำว่ากินไข่ทุกวันเป็นประโยชน์มากกว่าโทษ ทำให้เริ่มเกิดความสับสนว่าควรรับประทานมากน้อยแค่ไหนจึงจะปลอดภัย และไข่มีประโยชน์หรือโทษต่อร่างกายกันแน่

ย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีก่อน มีการศึกษาพบว่าชายที่บริโภคไข่ไก่มากกว่าสัปดาห์ละ 6 ฟอง มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าผู้ที่รับประทานไข่น้อยกว่า โดยงานวิจัยดังกล่าวเป็นการศึกษาระยะยาวในชายจำนวน 21,300 คน ที่มีอายุเฉลี่ย 54 ปี เป็นเวลานานกว่า 20 ปี ซึ่งในทุก ๆ ปีจะให้ผู้เข้าร่วมการทดลองจดบันทึกการบริโภคไข่ การทำกิจกรรมออกกำลังกายต่าง ๆ พฤติกรรมสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคผักผลไม้และธัญพืชในตอนเช้า รวมถึงการป่วยเป็นโรคเบาหวาน ภาวะความดันโลหิต และการใช้ยาแอสไพรินในแต่ละรายทั้งนี้จะไม่มีการให้ผู้เข้าร่วมเปลี่ยนแปลงการรับประทานแต่อย่างใด ซึ่งผู้เข้าร่วมทดลองส่วนใหญ่รายงานว่าได้รับประทานไข่สัปดาห์ละ 1 ฟอง ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักมากเกิน หรือผู้ที่ออกกำลังกายน้อย สูบบุหรี่ มีคอเลสเตอรอลสูง และมีประวัติป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมาก่อนนั้น มีแนวโน้มการรับประทานไข่ในปริมาณที่มากกว่า

ufabet

จากการสรุปผลการติดตามเป็นเวลาอันยาวนาน มีผู้เสียชีวิตหลังช่วงเวลาดังกล่าวจำนวน 5,169 คน และแม้จะใช้ค่าสถิติปรับวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ แล้ว ชายที่บริโภคไข่วันละ 6 ฟองขึ้น

ไปก็ยังมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าถึง 23 เปอร์เซ็นต์ โดยอัตราเสี่ยงจะยิ่งสูงมากขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างไรก็ดี แม้จะพบอัตราการเสียชีวิตที่มากกว่า แต่การบริโภคไข่ก็ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่อภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหรือโรคหลอดเลือดสมอง แม้แต่ในกลุ่มที่รับไข่มากกว่า 6-7 ฟองต่อสัปดาห์ก็ตาม

เช่นเดียวกับงานวิจัยอีกหลาย ๆ งานที่ไม่พบความเชื่อมโยงระหว่างการรับประทานไข่และการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันหรือโรคหลอดเลือดในสมอง ซึ่งเป็นโรคที่มีสาเหตุหนึ่งมาจากระดับคอเลสเตอรอลสะสมในเลือดที่สูง นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญบางคนยังเห็นแย้งว่างานวิจัยที่ชี้ถึงอัตราการเสียชีวิตในผู้บริโภคไข่มากกว่า 6 ฟองต่อสัปดาห์นั้นไม่ได้พิจารณาอาหารอื่น ๆ ที่ผู้เข้าร่วมทดลองอาจรับประทานเช่นกัน และไม่ได้ระบุสาเหตุการเสียชีวิต จึงไม่อาจรู้ได้แน่ชัดว่าสาเหตุการเสียชีวิตมาจากการรับประทานไข่มากเกินไปหรือมาจากสาเหตุใด

ต่อมานักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดได้มีการศึกษาและติดตามการรับประทานไข่ของนางพยาบาลจำนวน 117,000 คน เป็นเวลา 8-14 ปี ซึ่งผลลัพธ์ไม่พบความแตกต่างของอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจระหว่างกลุ่มที่รับประทานไข่สัปดาห์ละ 1 ฟอง และกลุ่มที่รับประทานไข่มากกว่าวันละ 1 ฟองแต่อย่างใดนอกจากนี้ จากการศึกษาเพิ่มเติม ผู้เชี่ยวชาญหลายคนยังมีความเห็นว่าการรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงนั้นอาจไม่ได้ส่งผลต่อการสะสมของคอเลสเตอรอลในเลือดหรือมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจมากอย่างที่เคยเชื่อกันมา หากแต่เป็นน้ำตาลและไขมันชนิดอิ่มตัว เช่น ผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันเต็มส่วน หรือเนื้อติดมันทั้งหลายที่มีไขมันอิ่มตัวจำนวนมากและเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตคอเลสเตอรอลสะสมในร่างกาย รวมถึงการไม่ออกกำลังกายที่น่าจะเป็นตัวการเพิ่มโอกาสเสี่ยงเกิดโรคหัวใจหรือส่งผลต่อระดับคอเลสเตอรอลได้มากกว่า


อ่านบทความข่าวสารอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ sassycheryls.com อัพเดตทุกสัปดาห์

Releated