การส่งเสริมความสามารถทางสติปัญญาของเด็ก

การส่งเสริมความสามารถทางสติปัญญาของเด็กตั้งแต่ยังเยาว์วัย

เมื่อปี 1968 จูเลียน สแตนลีย์ ผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาเกี่ยวกับการวัดความรู้ความสามารถและกระบวนการทางความคิด ได้พบกับเด็กอัจฉริยะวัย 12 ปี ที่ได้เข้าไปเรียนวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอบกินส์ ในสหรัฐฯ

ซึ่งเด็กคนนั้นคือ โจเซฟ เบทส์ มีความฉลาดเฉลียวแต่ก็รู้สึกเบื่อหน่าย เพราะว่าเขาเรียนรู้ไปไกลเกินกว่าเพื่อนในรุ่นเดียวกัน นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ จูเลียน สแตนลีย์ เริ่มงานวิจัยที่ดำเนินต่อเนื่องยาวนาน 45 ปี โดยเขาศึกษาพัฒนาการของเด็กที่มีพรสวรรค์พิเศษ ซึ่งรวมถึง มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก และเลดี้ กาก้า

แล้ว โจเซฟ เบทส์ เมื่อเติบโตขึ้นมาแล้วเป็นอย่างไร เขาทำได้ดีทีเดียว เขาจบปริญญาเอก สอนที่มหาวิทยาลัย และขณะนี้ได้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญชั้นนำในศาสตร์ปัญญาประดิษฐ์

ส่วนสแตนลีย์นั้น ริเริ่มโครงการศึกษาเยาวชนผู้มีความฉลาดล้ำด้านคณิตศาสตร์ (Study of Mathematically Precocious Youth ) ที่ศูนย์ศึกษาเยาวชนผู้มีพรสวรรค์ (Center for Talented Youth) ที่มหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอปกินส์ ซึ่งตามศึกษาพัฒนาการของเด็กกว่า 5,000 คน ซึ่งเป็นเด็กในสัดส่วน 1 เปอร์เซ็นต์ที่ทำคะแนนทดสอบด้านสติปัญญาได้สูงสุด

ข้อเท็จจริงที่งานวิจัยที่เขาค้นพบย้อนแย้งกับความเชื่อดั้งเดิมที่ว่าคนเราไม่ได้เก่งตั้งแต่เกิด แต่ต้องอาศัยการฝึกฝน โดยนักวิจัยพบว่าหากคนเรามีความสามารถในทางรู้คิด สามารถแก้ปัญหาและตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ตั้งแต่วัยเยาว์ จะมีผลต่อความสำเร็จมากกว่าการฝึกฝน หรือเรื่องของสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม เสียอีก

นักวิจัยเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมความสามารถทางสติปัญญาของเด็กตั้งแต่ยังเยาว์วัย อย่างไรก็ดี นักการศึกษาหลายคนชี้ว่าการพยายามผลักดันลูกให้เป็นอัจฉริยะก็อาจสร้างปัญหาทั้งในทางสังคม อารมณ์และจิตใจได้

สำหรับพ่อแม่ที่มีลูกเฉลียวฉลาดและอยากให้ลูกใช้ชีวิตอย่างมีความสุข งานวิจัยชิ้นนี้ได้แนะนำว่า

1.เปิดโอกาสให้เด็กได้มีประสบการณ์ที่หลากหลาย เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูงต้องการสิ่งใหม่ ๆ ที่จะคอยจูงใจพวกเขาเสมอ การเพิ่มประสบการณ์ชีวิตให้กับเด็กจะช่วยให้พวกเขารับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างมั่นอกมั่นใจขึ้น

2.ฟูมฟักความสามารถและความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นกีฬา ดนตรี หรือการละคร การให้เด็ก ๆ ได้ค้นหาความสามารถของตนตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้พวกเขาได้ฝึกทักษะต่าง ๆ อาทิ การอดทนปรับตัว อย่างไรก็ตาม ไม่ควรบังคับให้พวกเขาทำอะไรที่ไม่เป็นตัวของตัวเอง

การส่งเสริมความสามารถทางสติปัญญาของเด็ก

3.สนับสนุนความต้องการทางสติปัญญาและอารมณ์ การสงสัยใคร่รู้เป็นหัวใจของการเรียนรู้ เด็ก ๆ ชอบถามคำถาม และการพยายามตอบคำถามเหล่านั้นเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ยิ่งเด็ก ๆ ถามคำถามประเภท “ทำไม” และ “อย่างไร” มากเท่าไหร่ พวกเขาก็จะเรียนรู้ได้มากขึ้นเท่านั้น

4.ชื่นชมความพยายาม ไม่ใช่ความสามารถ สนับสนุนให้เด็กมองเรื่องพัฒนาการ มากกว่าจดจ่อที่ผลลัพธ์ เด็กมักจะเลียนแบบพ่อแม่ในทุก ๆ เรื่อง และพ่อแม่ควรให้ความสำคัญกับเรื่องความพยายามที่จะเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ภาษาใหม่ หรือการหัดขี่จักรยาน

5.อย่ากลัวความล้มเหลว แนะให้เด็กมองความล้มเหลวว่าเป็นส่วนหนึ่งของการกระบวนการเรียนรู้ การเรียนรู้จากความล้มเหลวจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะจัดการปัญหาในครั้งต่อไปได้ดีขึ้น

6.อย่าตีตรา การยกย่องว่าเด็กคนหนึ่ง “มีพรสวรรค์” อาจทำให้เขาถูกเพื่อนตีตัวออกห่าง นอกจากจะทำให้เขาโดนแกล้งได้แล้ว เขาอาจจะรู้สึกกดดันว่าจะทำให้ใครผิดหวัง

7.ร่วมมือกับครู เด็กที่มีสติปัญญาดีเลิศมักต้องการเนื้อหาการเรียนรู้ที่ยากและมากกว่าเด็กทั่ว ๆ ไป เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ปกครองและครูต้องหาทางให้ความรู้เด็กมากกว่าที่ระบบการเรียนรู้แบบธรรมดาจะให้ได้

8.ให้ลูกทดสอบความสามารถ หลักฐานจากการทดสอบด้านสติปัญญาจะช่วยให้กระบวนการในการขอให้โรงเรียนจัดเนื้อหาความรู้ให้เด็กเพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษเป็นไปได้ง่ายขึ้น และการทดสอบนี้ก็อาจจะทำให้พ่อแม่ได้ทราบด้วยหากลูกมีปัญหาด้านการเรียนรู้ เช่น โรคดิสเล็กเซีย (ภาวะบกพร่องในการอ่านและเขียน) สมาธิสั้น และอุปสรรคทางอารมณ์หรือการปรับตัวเข้าหาสังคม

อะไรคือสัญญาณบอกว่าลูกของคุณมีพรสวรรค์

1. ความจำดีเป็นพิเศษ

2. เริ่มอ่านหนังสือได้เร็ว

3. มีงานอดิเรกพิเศษ หรือมีความรู้ในเรื่องบางเรื่องอย่างพิเศษ

4. รู้เรื่องราวของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลก

5. ถามคำถามตลอดเวลา

6. มีความสามารถด้านดนตรี

7. ชอบเป็นฝ่ายควบคุม

8. สร้างกฎเกณฑ์ต่างๆ เพิ่มขึ้นเองเวลาเล่นเกมส์

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ sassycheryls.com

UFA Slot

Releated